วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553

3 G ล้ำหน้า.........ด้วยอะไร

3 G สุดยอดเทคโนโลยี



ประวัติความเป็นมาของเทคโนโลยี 3G เทคโนโลยี 3G คืออะไร 3G หรือ Third Generation เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 อุปกรณ์การสื่อสารยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ Walkman, กล้องถ่ายรูป และ อินเทอร์เน็ต 3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียง และ การส่งข้อมูลในขั้นต้น ทั้งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น ที่มา (ไพรัตน์ ยิ้มวิลัย, 2548) จุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี 3G มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 (Third Generation Mobile Network หรือ 3G) เป็นเทคโนโลยียุคถัดมาจากการเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 2 หรือ 2G ซึ่งประสบความสำเร็จในการสร้างมูลค่าทางธุรกิจสื่อสารไร้สายอย่างมหาศาลนับตั้งแต่ พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา ในยุคของโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G มีมาตรฐานที่สำคัญที่มีการนิยมใช้งานทั่วโลกอยู่ 2 มาตรฐาน กล่าวคือมาตรฐาน GSM (Global System for Mobile Communication) อันเป็นมาตรฐานของกลุ่มสหภาพยุโรป ปัจจุบันมีส่วนแบ่งทางการตลาดทั่วโลกสูงที่สุด และมาตรฐาน CDMA (Code Division Multiple Access) อันเป็นมาตรฐานจากสหรัฐอเมริกา มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับที่สอง จุดมุ่งหมายของการพัฒนามาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ขึ้น ก็เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานระบบสื่อสารไร้สายส่วนบุคคล (Personal Communication) ในลักษณะไร้พรมแดน (Global Communication) โดยเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการสามารถนำเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้งานในที่ใด ๆ ก็ได้ทั่วโลกที่มีการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าว



เจเนอเรชันที่ศูนย์ (0G) เป็นยุคของโทรศัพท์เคลื่อนที่ก่อนระบบเซลลูลาร์ ซึ่งก็คือโทรศัพท์ที่ใช้คลื่นวิทยุในการสื่อสารยุคแรก

เจเนอเรชันที่หนึ่ง (1G) นี่เป็นการเริ่มต้นการใช้ระบบสื่อสารแบบ เซลลูลาร์ โทรศัพท์มือถือในยุคนี้เป็นโทรศัพท์มือถือที่ใช้มารตรฐานการสื่อสารในระบบอนาล็อก และมีใช้กันในช่วง พ.ศ. 2523-2533 เจเนอเรชันที่สอง (2G) มีการพัฒนานำระบบดิจิตอลเข้าสู่โลกการสื่อสารไร้สาย นั่นคือมีการส่งสัญญาณในระบบดิจิตอล ซึ่งช่วยเพิ่มคุณภาพของสัญญาณ รวมทั้งยังทำให้สามารถรองรับจำนวนผู้ใช้ได้มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีความต้องการสื่อสารข้อมูลที่ไม่ใช่เสียงเกิดขึ้นด้วย โทรศัพท์มือถือในยุคนี้สามารถใช้บริการ SMS ได้แล้ว
เจเนอเรชันที่ 2.5 และ 2.75 (2G และ 2.75G) พื้นฐานของโทรศัพท์มือถือยุค นี้ยังคงเหมือนกับยุคที่สอง โดยเพิ่มความสามารถในการสื่อสารข้อมูลอื่นๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ทางบริการ WAP (Wireless Application Protocol) และ GPRS (General Packet Radio Service) ลักษณะของโทรศัพท์มือถือยุคนี้ที่เห็นได้อีกก็คือ จอสี และกล้องเจเนอเรชันที่ 3 (3G) โทรศัพท์ยุคที่สามนี้เป็นการใช้ระบบเครือข่ายรูปแบบใหม่ ด้วยจุดประสงค์เพื่อเพิ่มความเร็วในการส่งข้อมูลให้มากขึ้นสำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ต ข้อมูลด้านภาพ หรือธุรกรรมต่างๆ ซึ่งโลกสื่อสารไร้สายกำลังเดินเข้าสู่โทรศัพท์มือถือยุคนี้กันแล้ว รูปที่ 2 การเติบโตของบริการประเภท Non-Voice ที่มา (ไพรัตน์ ยิ้มวิลัย, 2548)



1. เทคโนโลยี HSDPA (High Speed Downlink Packet Access) เป็นเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายที่นับเป็นวิวัฒนาการขั้นถัดมาจากเครือข่าย W-CDMA อันเป็นมาตรฐาน 3G จากค่ายยุโรป ซึ่งมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงกว่าเทคโนโลยี cdma2000 ซึ่งเป็นมาตรฐาน 3G จากค่ายสหรัฐอเมริกา เป็นที่ทราบกันดีว่าอัตราเร็วในการรับส่งข้อมูลของมาตรฐาน W-CDMA มาตรฐานนั้นถูกจำกัดอยู่ที่ 384 กิโลบิตต่อวินาที องค์กร 3GPP (Third Generation Partnership Program) ซึ่งเป็นผู้วางข้อกำหนดมาตรฐานของเครือข่าย W-CDMA จึงกำหนดให้มีการพัฒนารูปแบบการรับส่งข้อมูลทางคลื่นวิทยุของอุปกรณ์สถานีฐาน W-CDMA ซึ่งมีชื่อเรียกสถานีฐานนั้นว่า Node B ด้วยการนำเทคโนโลยีการมอดูเลตสัญญาณ และการเข้ารหัสข้อมูลแบบใหม่ เพื่อช่วยทำให้อัตราเร็วในการส่งข้อมูลจาก Node B มายังเครื่องลูกข่ายสื่อสารไร้สาย เพิ่มขึ้นเป็น 14 เมกะบิตต่อวินาที ในขณะที่การส่งข้อมูลกลับจากอุปกรณ์สื่อสารไร้สายไปยัง Node B ยังคงใช้อัตราเร็ว 384 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งว่าเพียงพอและสอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้บริการสื่อสารข้อมูลแบบบรอดแบนด์ที่ผู้ใช้งานส่วนใหญ่มีการดาวน์โหลดข้อมูลจากเครือข่ายมากกว่าการส่งข้อมูลย้อนกลับไป อย่างไรก็ตาม ภายใน พ.ศ. 2550 เครือข่าย W-CDMA ที่มีการเปิดใช้เทคโนโลยี HSDPA นี้ ก็จะมีการพัฒนาต่อไปเป็นเครือข่ายแบบ HSUPA (High Speed Uplink Packet Access) ซึ่งมีผลทำให้อัตราเร็วในการรับและส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์สื่อสารไร้สายและ Node B มีค่า 14 กิโลบิตต่อวินาทีเท่ากัน รูปที่ 6 แสดงให้เห็นถึงขีดความสามารถของเทคโนโลยี HSDPA กับความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูลเมื่อเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับส่งข้อมูลขนาดเล็ก เช่น ไฟล์รูปภาพที่ถ่ายจากกล้องดิจิตอลภายในตัวเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่เอง ไปจนถึงการรับส่งข้อมูลขนาดใหญ่เช่น Video Clip หรือไฟล์ข้อมูลจากโปรแกรม Microsoft Office ต่าง ๆ โดยการเปรียบเทียบนั้นทำบนพื้นฐานแห่งความเป็นจริงเมื่อคิดว่าเครือข่าย HSDPA ซึ่งรองรับการส่งข้อมูลด้วยอัตราเร็ว 14 เมกะบิตต่อวินาทีนั้น เมื่อคิดคำนวณเป็นค่าความเร็วเฉลี่ยที่ผู้ใช้บริการรายหนึ่งพึงใช้ได้ในกรณีที่มีผู้ใช้งานพร้อม ๆ กันหลายคน ก็น่าจะได้ความเร็วที่ประมาณ 2 เมกะบิตต่อวินาที รูปที่ 6 ความเร็วในการรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย HSDPAเปรียบเทียบกับมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ชนิดอื่น ๆ ที่มา (ไพรัตน์ ยิ้มวิลัย, 2548) ในมุมมองของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ W-CDMA การเปิดให้บริการ BWA โดยพัฒนาเครือข่ายของตนให้รองรับเทคโนโลยี HSDPA เป็นเรื่องที่ง่ายและใช้ต้นทุนต่ำมาก เพราะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ Node B แต่อย่างใด การพัฒนาเป็นเพียงการปรับเปลี่ยนซอฟท์แวร์ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ Node B เท่า


2. เทคโนโลยี WiMAX (Worldwide inter-Operability for Microwave Access) เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ได้รับการผลักดันมาตรฐานโดยสมาคม WiMAX โดยนำเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุแบบไมโครเวฟมาพัฒนาพร้อมทั้งใช้การมอดูเลตสัญญาณแบบ OFDM (Orthogonal Frequency Division Multiplexing) และกำหนดมาตรฐานโปรโตคอลระบบสัญญาณขึ้นใหม่ เพื่อให้เกิดการแพร่กระจายคลื่นความถี่วิทยุในลักษณะเดียวกับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเซลลูลาร์ WiMAX ได้รับการคาดหมายว่าจะได้รับความนิยมใช้งานอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะด้วยการผลักดันในเรื่องของชิปเซ็ตที่ผลิตขึ้นโดยบริษัท Intel ให้มีลักษณะการใช้งานแบบเดียวกับ Centrino ที่มีการรวมฟังก์ชั่นการสื่อสารด้วยเทคโนโลยี Wi-Fi มาแล้ว ในทางทฤษฎีสามารถใช้อุปกรณ์สถานีฐาน WiMAX รับส่งสัญญาณด้วยอัตราเร็วสูงสุดถึง 70 เมกะบิตต่อวินาทีในกรณีของการส่งสัญญาณเป็นเส้นตรงแบบเดียวกับการรับส่งสัญญาณไมโครเวฟ หรือประมาณ 10-20 เมกะบิตต่อวินาทีในกรณีของการรับส่งสัญญาณแบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วไป

บทสรุปของเทคโนโลยี 3G ความสามารถในการให้บริการในรูปแบบต่าง ๆ ได้ และการมีตัวเครื่องลูกข่ายออกมาขายโดยเร็วนั้นถือว่าเป็นปัจจัยหลักที่จะ เป็นทางรอดของผู้ให้บริการ ผู้ขายที่ให้ความสำคัญกับการรวม 2G และ 3G บนลูกข่ายเดียวกันนั้น มีแนวโน้มว่าจะกลายมาเป็นผู้นำตลาดในช่วงปลายทศวรรษนี้การลงทุนที่ต่ำในโครงสร้างพื้นฐานนั้นจะช่วยในการคุ้มทุนที่รวดเร็ว และมีประโยชน์ในด้านต่าง ๆ กับผู้ให้บริการ ในขณะที่ผู้ขายตัวลูกข่าย หรืออุปกรณ์นั้น ก็จะต้องให้ความสำคัญกับการผลิตที่ต้นทุนต่ำ และสามารถใช้บริการได้อย่างกว้างขวาง เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ ทั้งในรูปแบบของใช้งานส่วนตัวและใช้งานธุรกิจ ด้วยเหตุนี้การค่อย ๆ พัฒนาจึงดูเหมือนว่าจะเป็นวิธีเดียวที่จะช่วยให้สามารถเข้าสู่ตลาดได้ก่อน และมีต้นทุนต่ำที่สุดโอกาสในการนำเสนอการให้บริการในยุคของ 3Gรูปแบบใหม่ของการประเมินค่าเดิมทีนั้นการวัดหรือประเมินค่าความสำเร็จในธุรกิจโทรศัพท์มือถือนี้ก็คือ จำนวนผู้ใช้งาน, ความสามารถในการเข้าสู่ตลาด, และรายได้เฉลี่ยจากผู้ใช้บริการต่อหัว หรือ ARPU (Average Revenue Per User) แต่ในยุคของ 3G ตัวประเมินค่าเหล่านี้จะไม่ได้ถูกนำมาใช้เนื่องจากว่าคุณลักษณะของ 3G นั้นก็คือ การที่บริการที่ไม่ใช่เสียง (Non-Voice Services) ถูกเพิ่มเข้าไปในบริการแบบเดิมที่เป็นเสียง ดังนั้นผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคของ 3G นั้นจะสามารถเลือกใช้งานบริการต่าง ๆ ได้อย่างมากมาย ด้วยเหตุนี้ ตัวประเมินค่าจึงไปอยู่ที่รูปแบบ หรือระดับของบริการที่มีผู้ต้องการใช้งานแทนจำนวนของผู้ใช้บริการ



ฉะนั้น ต่อไปจากนี้ จำนวนผู้ใช้บริการ กับผู้ที่สมัครเข้าใช้บริการในรูปแบบต่าง ๆ นั้นจะไม่ใช่ค่าเดียวกันอีกต่อไปรายได้จากบริการก็เช่นกัน จะมีการเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบเดิมที่คิดตามเวลาที่เชื่อมต่อหรือเวลาใช้งาน ก็จะเปลี่ยนเป็นคิดตามปริมาณของข้อมูลที่ใช้ โดยในกรณีนี้ ผู้ที่จะมาเกี่ยวข้องในส่วนของรายได้ นอกจากผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แล้ว ก็จะเป็นผู้ให้บริการข้อมูลหรือที่เรียกว่า Content ด้วย ARPU จะลดความสำคัญลง เมื่อโลกของ 3G นั้นอยู่ใกล้กับโลกของอินเทอร์เน็ต มากกว่าโลกของการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเดิม ๆ แต่ 3G นั้นก็ไม่ได้ต้องการจะถูกวางตำแหน่งให้เป็น Mobile Internet เพียงอย่างเดียว เนื่องจากว่ามีบริการอีกมากมายที่สามารถให้ได้ใน 3G





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น